ประวัติโรงเรียนวัดยางสว่างอารมณ์ ( โดยสังเขป)
โรงเรียนวัดยางสว่างอารมณ์ เดิมชื่อ
โรงเรียนประชาบาล ตำบลบ้านดอน
1 (วัดยางสว่างอารมณ์) เปิดสอนทำการเมื่อ วันที่
12 ตุลาคม พ.ศ. 2478
แบบสหศึกษา
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนทั้งสิ้น 140
คน ครู 2
คน ได้แก่
1.
นายเหรียญ หิรัญรัตน์ ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่
2.
นายฉุน เข็มเพชร ดำรงตำแหน่ง ครูน้อย
การเปิดโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านดอน 1
ครั้งนี้
ประธานผู้ทำพิธีเปิดโรงเรียน
คือ นายฉัตร โพธิ์ประยูร
ปลัดอำเภอจระเข้สามพัน (ในสมัยนั้น
) โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
พ่อค้า ประชาชน ร่วมในพิธีเปิดโรงเรียน
รายนามผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
1.
นายเหรียญ หิรัญรัตน์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 12
ตุลาคม 2478
ถึงวันที่ 1 สิงหาคม
2482
2.
นายกิมเส็ง
วงษ์สุวรรณ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16
สิงหาคม 2482 ถึงวันที่
1 สิงหาคม 2483
3.
นายแวว คำหงส์
ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่
23 สิงหาคม 2483
ถึงวันที่ 31 มกราคม
2520
4.
นายเวทย์ ธนวรรณ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่
6 กันยายน 2522
ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม
2523
5.
นายเชื้อ พุทธิมัย
ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่
2 พฤษภาคม 2523
ถึงวันที่ 30 กันยายน
2524
6.
นายเวทย์ ธนวรรณ
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2525
ถึงวันที่ 30 กันยายน
2526
7.
นายปลื้ม สุนทรวิภาต
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่
1 ตุลาคม 2526
ถึงวันที่ 30 กันยายน
2532
8.
นายประสาร โพธิ์ศรีทอง
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่
21 ธันวาคม 2532
ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์
2535
9.
นายสุทธิวุฒิ สมใจเพ็ง
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่
19 กุมภาพันธ์ 2535
ถึงวันที่ 30 กันยายน
2535
10.
นายพิชัย ศรีศศลักษณ์
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1
ตุลาคม 2535 ถึง
2552
11. นายกฤตวรรณ เพชรดำดี
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ กุมภาพันธ์ 2552 ถึง ปัจจุบัน
การพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
วันที่
4 มิถุนายน 2501
เปิดทำการสอนมัธยมศึกษา มีนักเรียนรุ่นแรก 45
คน ปัจจุบันเลิกทำการสอนแล้ว
วันที่
30 พฤศจิกายน 2501
สร้างอาคารเรียนหลังที่ 1 จำนวน
6 ห้องเรียน ด้วยเงินบริจาค จำนวน 6,900
บาท ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว
วันที่
24 มกราคม 2503
สร้างอาคารเรียนหลังที่ 2
จำนวน 4 ห้องเรียน
แบบ 006 ด้วยเงินงบประมาณ 100,000
บาท ปัจจุบัน รื้อถอนแล้ว
วันที่
1 พฤษภาคม 2506
ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5
ถึงชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 7 ปัจจุบันยกเลิกการสอนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 7 แล้ว
วันที่
16 กันยายน 2508
สร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 แบบ
008 จำนวน 3
ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 105,000
บาท ปัจจุบัน รื้อถอนแล้ว
วันที่
22 สิงหาคม 2509
สร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง
แบบกรมสามัญ
ด้วยเงินงบประมาณ 61,000 บาท
ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้จำหน่ายแล้ว
กำลังรอการรื้อถอน
วันที่
25 ตุลาคม 2514
สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ข. จำนวน
3 ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 120,000 บาท
ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม
2518 ได้รับงบประมาณ 80,000
บาท ต่อเติมอาคารอีก 2 ห้องเรียน
ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้จำหน่าย
และอยู่ระหว่างรอการรื้อถอน
วันที่
20 พฤษภาคม 2532
รื้อถอนอาคารเรียนหลังที่ 1 ( แบบสร้างเอง )
นำวัสดุที่เหลือมาจัดทำห้องสมุด
ซ่อมแซมโรงอาหารและบ้านพักครู
พร้อมทั้งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ
สปช.105/29 จำนวน 6 ห้องเรียน
ด้วยเงินงบประมาณ 1,174,000 บาท
วันที่
4 มกราคม 2537
ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน
แบบ สปช 105/29 จำนวน 2
ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 140,000
บาท
วันที่
26 กันยายน 2537
รื้อถอนโรงอาหาร
นำวัสดุที่เหลือมาซ่อมแซมบ้านพักครู
พร้อมทั้งได้งบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ
สปช 209/26 ด้วยเงินงบประมาณ 1,200,000 บาท
วันที่
1 มิถุนายน 2540 ได้รับอนุมัติให้เปิดเรียนตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเปิดทำการสอนในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ( ม.1 – ม.3 )
วันที่
8 ธันวาคม 2541
ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ
สปช 105/29 จำนวน
10 ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 2,764,250
บาท
วันที่
9 สิงหาคม 2542
ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช
601/26 ราคา 111,000
บาทและสนามกีฬาบาสเกตบอล 1 สนาม
ราคา 233,000 บาท พร้อมถังน้ำฝน
แบบ ฝ 33 จำนวน 1 ชุด
ราคา 72,000 บาท
ตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ 2542
วันที่
23 มีนาคม 2544
ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารเรียน แบบ
สปช 2/28 จำนวน 12
ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ 4,143,600
บาท